วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวัติ ความเป็นมาของการทำหมอนขิด













ประวัติ ความเป็นมาของการทำหมอนขิด
     
     การทอผ้าซึ่งเป็นงานหัตถกรรมที่สำคัญของชาวอีสานที่มีความผูกพันกับคติความเชื่อของชาวอีสานมาช้านาน ดังจะเห็นได้จาก “ผ้าขิด” ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำหมอนขิด เป็นผ้าที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป ผ้าขิดเป็นผ้าที่ต้องใช้ฝีมือและความสามารถในการทอสูงกว่าผ้าชนิดอื่น ช่างอีสานถือว่าผ้าขิดเป็นของสูง จึงมักจะทอใช้ในโอกาสที่เป็นมงคลหรืองานพิธี หมอนขิด เป็นภูมิปัญญาสั่งสม ที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งเป็นการรักษาวัฒนธรรมทางหัตถกรรมของภาคอีสานไว้ได้อย่างดีเยี่ยมและยังได้นำมา ประยุกต์เข้ากับศิลปะปัจจุบันตลอดจนประโยชน์ใช้สอยได้อย่างกลมกลืนตามสมัยนิยม ชาวอีสานในอดีตประกอบอาชีพหลัก ทางการเกษตร มีการปลูกข้าวเพื่อยังชีพ เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร ถ้าว่างจากการทำไร่ ทำนา ผู้ชายจะสานตะกร้า บุ้งกี๋ กระบุง ฯลฯ ไว้ใช้ในครัวเรือน หรือเอาไว้ใช้ในฤดูกาลทำนา ทำไร่ในปีต่อไป ส่วนผู้หญิงก็จะเย็บปักถักร้อย มีการปลูกฝ้ายเก็บดอกฝ้ายมาปั่นทำผ้าห่ม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นำมาทอเป็นผืนผ้าไหมเพื่อได้นุ่งห่ม มีทั้งทอผ้าพื้นสำหรับตัดเสื้อผ้า หรือทำที่นอน ทอผ้าขาวม้า ทอผ้าลายมัดหมี่ และทอผ้าลายขิด สำหรับผ้าลายขิดจะใช้ทำหมอน ซึ่งการทำหมอนขิด เกิดขึ้นมาพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวนาชนบท โดยเฉพาะชาวอิสานซึ่งเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านยังคงรักษาวัฒนธรรม ดั้งเดิมเอาไว้ โดยเฉพาะศิลปะในการทอผ้าเพื่อใช้สอยในครัวเรือน ทั้งเสื้อผ้าและเครื่องใช้ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ผู้หญิงส่วนใหญ่ ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายหรือญาติผู้ใหญ่ การทอผ้าลายขิด เป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ “ขิด” เป็นภาษาพื้นบ้านของภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาจากคำว่า สะกิด หมายถึงงัดช้อนขึ้นหรือสะกิดขึ้น สันนิษฐานว่ามาจาก ภาษาบาลีคำว่า ขจิด แปลว่า ทำให้งดงาม ในสมัยโบราณผ้าขิดเป็นผ้า ที่มีคุณค่าสูง ใช้ห่อพระไตรปิฎกซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาใน พุทธศาสนา ต่อมา ชาวบ้านได้นำผ้าขิด มาทำเป็นหมอนสามเหลี่ยม ซึ่งเดิมเรียกว่าหมอนหน้าม้า ตามลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายหน้าม้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าใช้สำหรับถวายพระภิกษุสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ หรือมอบแด่เจ้าเมืองที่เคารพนับถือ ซึ่งการทอผ้าลายขิดและการทำหมอนขิดได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน

ขั้นตอนและวิธีการทำหมอนขิด ( แบบง่ายๆ )


1. คัดเลือกผ้าที่จะทำเป็นตัวหมอน ตัดผ้าตามชนิด หรือขนาดของหมอน เช่น หมอนขิด หมอนสามเหลี่ยม ที่นอนระนาด เป็นต้น


2. ตัดผ้าอีกส่วนที่จะเผ็บเป็นไส้หมอน สำหรับหมอนสามเหลี่ยม ไส้หมอนจะมี  6 ช่อง หรือ 10 ช่อง หรือ 15 ช่อง แล้วแต่ชนิดของหมอนค่ะ


3. เย็บเป็นรูปหมอน คือ นำตัวหมอนกับไส้หมอนมาเย็บเข้าลูกกัน 


4. นำหมอนที่เย็บเป็นลูกหมอนแล้ว มาสอยปิดหน้าด้านหนึ่ง 


5. แล้วมายัดนุ่น ใส่ฟางเพื่อเป็นแกนไส้หมอน เพิ่มความมั่นคง และคงรูปค่ะ
 


6. ขั้นตอนสุดท้ายก็มาสอยปิดหน้าหมอนอีกด้านหนึ่งค่ะ 


7. เมื่อได้ตัวหมอนเรียบร้อยแล้ว ก็เป่านุ่น แล้วห่อพลาสติกให้เรียบร้อยค่ะ



ต้องการทราบข้อมูลละเอียด หรือต้องการดูวิธีทำหมอนจริง
สอบถามได้ค่ะ  093-4916438  กานต์สีนี  เรามีบริการจัดทัวร์ชมหมอนขิดที่บ้านหนองของและตำบลสิงห์

####เหมือนจะง่ายๆนะค่ะ แต่ทุกขั้นตอนทำจากมือล้วนๆเลยนะค่ะ ต้องอาศัยความปรานีต ละเอียด และทักษะความชำนาญการของแต่ละคนค่ะ ####

      1.หมอนลูก (สี่เหลี่ยม สองหน้า)











     2.หมอนสามเหลี่ยม(หมอนหน้าม้า)






3.หมอนหกเหลี่ยม(หมอนมะเฟือง)






















4.หมอนพิงหลัง(สำหรับผู้สูงอายุ)




5.ฟูกลูกละนาถ





6.หมอนอึ่ง หมอนไข่






7.สะหนา หมอนรองนั่ง




8.ผ้าลายหมอนขิด




        9.หมอนขิดรูปหัวใจ




10.หมอนข้าง





        11.ผ้าขาวม้า




       12.ผ้าถุงลายไทย




     13.หมอนรองคอลายไทย




       14.หมอนกระดูกลายไทย





       15.หมอนฟักทอง



16.หมอนขิดไทยสไตร์อินเตอร์




        17.หมอนมะละกอ
####เหมือนจะง่ายๆนะค่ะ แต่ทุกขั้นตอนทำจากมือล้วนๆเลยนะค่ะ ต้องอาศัยความปรานีต ละเอียด และทักษะความชำนาญการของแต่ละคนค่ะ ####
ต้องการทราบข้อมูลละเอียด หรือต้องการดูวิธีทำหมอนจริง
สอบถามได้ค่ะ  093-4916438  กานต์สินี  เรามีบริการจัดทัวร์ชมหมอนขิดที่บ้านหนองขอน ยโสธร ค่ะ 
          
      ส่วนรูปแบบจะมีหมอน ๖ ลูก หมอน ๙ ลูก หมอนขวาน เบาะรองนั่ง หมอนข้าง หมอนเล็ก 
หมอนลูกฟักทอง (สะม๊อก) ซึ่งหมอนขนาดเล็กใช้หนุนและทำพวงกุญแจ จะขายได้มาก เพราะประโยชน์ใช้สอยมาก เช่น หนุนนอนในรถยนต์ และร้านที่สั่งซื้อ คือแมคโครทั่วประเทศมีรูปแบบ ๔ แบบ คือ หมอนสามเหลี่ยม หมอนติดเบาะ หมอนผ้าดีไซด์ เบาะนั่งและยังส่งที่ลาดพร้าว จึงกระจายไปทั่วประเทศ อยากจดลิขสิทธิ์แต่แพงมาก คือไม่มีเงินพอเป็นล้านจึงจะจดได้ สาเหตุที่อยากจดลิขสิทธิ์ เพราะถูกเอาไปอ้างว่าเป็นของจังหวัดต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ อุดร กรุงเทพฯ เป็นต้นอยากรวมกลุ่ม เพราะราคาไม่แน่นอน มีการขายตัดราคากันในหมู่บ้าน เคยรวมกลุ่มแต่มามีการยักยอกเงินของกรรมการทำให้กิจการล้ม ขายส่งขายต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับลูกค้าจะติดต่อมาเอง ภายในประเทศจะส่งนารายณ์ภัณฑ์ จะเป็นสินค้าคุณภาพ ยัดนุ่นไม่ใส่ไส้ ลายจะเป็นลาดมัดหมี่ โสร่ง ผ้าสีธรรมชาติ (สีไม้ขนุน, สีขี้โคลน, สีเปลือกไม้, สีเข)

 การลงทุน   
๑. ทางร้านเตรียมอุปกรณ์ เช่น ผ้า ด้าย ทุกชนิดมาเก็บไว้ ชาวบ้านที่จะทำ จะมาลงบัญชีอุปกรณ์ไว้ เมื่อเย็บเสร็จยัดเสร็จ จะส่งหมอนโดยคิดราคาส่ง บวกลบกลบหนี้       
๒. ชาวบ้านจะนำหมอนมาส่งขายโดยอุปกรณ์จะซื้อเองทั้งหมด        
๓. ชาวบ้านบางคนก็ไปรับจ้าง เช่น ชำนาญในการเย็บตัวหมอน รับยัดนุ่นรับสอยหน้า-หลังหมอน รับมัดไส้หมอน เป็นต้น  จำนวนหมอนที่เย็บได้ในหมู่บ้าน เฉพาะร้านเดียว เดือนละ 
๔ หมื่นชิ้น เฉลี่ย ๕ พันลูกต่อเดือน เพราะถ้าช่วงทำนา เกี่ยวข้าว ร้านต้องกักตุนหมอน และห้ามลูกค้าสั่งสินค้ามาก ชาติที่มาติดต่อคือ ญี่ปุ่น สั่งมา ๑,๐๐๐ ชุด (หมอนขวาน ๒ ที่นั่ง ๒ พับ) ลงเรือแล้ว (ปี ๒๕๔๑) อังกฤษเริ่มเข้ามาติดต่อบ้าง หมอนขวานศรีฐาน ยังเป็นแค่อุตสาหกรรมในครัวเรือน ระบบตลาดยังไม่ดี

 
ผ้าที่ใช้
        เดิม ผ้าไส้ ทำจากผ้าคลุมพระจะนำมาซักใหม่  ปัจจุบัน ผ้าไส้ได้มาจากโรงงาน โดยใช้ผ้าทำมุ้ง เพราะหูกหนึ่งจะใช้เวลา ๑ เดือนไม่พอเพียงและมือไม่เสมอ ลายไม่ค่อยสวย  ปัจจุบันให้โรงงานทอผ้าขิด ลายจะยากแค่ไหนใช้คอมพิวเตอร์ แยกลายได้เลย ทอเร็วได้มาก ลายเสมอ สวยงาม

 ปัญหา  การเย็บ ช่วงแรกใช้จักรเย็บเท้า ต่อมาใช้จักรโรงงาน เดิมเย็บได้วันละ ๕-๑๐ ลูก ปัจจุบันวันละ ๕๐ ลูก ปัจจุบันมีร้านรับซื้อหมอน ๑๐ ร้าน เดิมมีร้านเดียว ทำให้ราคาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับฤดูกาล การแข่งขันก็มีมาก การส่งจำหน่าย รถ ๖ ล้อ ๑ คัน ราคา ๑ แสนบาทต่อเที่ยว ส่งสัปดาห์ละ ๒-๓ เที่ยว

 
รายได้ 
        รายได้ครัวเรือนละ ๖-๙ หมื่นบาทต่อเดือน หมู่บ้านที่ผลิตหมอน มี บ้านกระจาย บ้านนิคม บ้านน้อย บ้านเชียงเครือ หนองเป็ด อำเภอป่าติ้ว

 
การเย็บหมอน
        เป็นงานผู้หญิง เพราะเป็นงานผีมือ ต้องการความละเอียด สวยงาม ผู้ชายจะมัดไส้หมอน เรียนหนังสือ ทำไร่ปอ มันสำปะหลัง แตงโม

 
ปัญห

     จะมีโรคปวดขา ปวดหลัง หอบ หืด แพ้อากาศ เพราะฝุ่นมาก จะขายดีที่สุดในช่วงออกพรรษา ปี ๒๕๔๒ ยุค IMF (มกราคม-เมษายน) ขายดีกว่าทุกปีที่ผ่านมาการขายหมอนจะขายดีตลอด ไม่มีปัญหา เพราะใช้เป็นของฝาก ใช้ทำบุญ ใช้หนุนนอน


และมีอีกหลายชนิดที่ชาวหมู่บ้านหนองขอนจัดทำขึ้น นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานฝีมือ  ซึ่งส่วนที่นิยมมากที่สุด

...................................................................................................................................  .
ที่กล่าวมาเปนเพียงข้างต้นที่ได้ทำการคัดเลือกประเภทหมอนขิด ที่คนไทยนิยมกันมาก  ในงานต่างๆ เช่น งานแต่งงาน (เพื่อสมมาคุณทางผู้ใหญ่) งานบวช (เพื่อถวายวัด ทำบุญ) งานกฐิน งานศพ เป็นต้น
เพื่อมาเปนตัวอย่าง  และมีอีกมากมายหลายชนิดมากที่มีขายในศูนย์ฝึกฝีมือชุมชนและส่งออกที่อื่น  
....................................................................................................................................  .


แหล่งอ้างอิง

     ฝีมือชุมชนบ้านหนองขอน ศูนย์ฝึกฝีมือชุมชน ศูนย์ฝึกฝีมือชุมชน  ร้านแม่ขาวหมอนขิดประจำตำบลสิงห์และหมู่บ้านหนองขอน  


ประวัติของผู้จัดทำ

นางสาวกานต์สินี ชูรัตน์
เกิด 11 เมษายน 2540
ที่อยู่ 64 หมู่ที่ 2 บ้านหนองขอน ตำบลสิงห์  อำเภอเมืองยโสธร  จังหวัดยโสธร
การศึกษา ปวช.3  ห้อง3
แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
วิทยาลัยอาชีวะศึกษายโสธร




สามารถติดต่อได้ที่ 
 เบอร์ 093-4916438
LINE : kansinee2540
Facebook : E"noo kan kan Indy